วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คณะผู้จัดทำ



คณะผู้จัดทำ


นางสาวดวงธิดา จันเต 55191700122



นายธเนศ อยู่มั่น 55191700131

                                    โปรแกรมวิชา  อุตสาหกรรมศิลป์และเทคโนโลยี  ชั้นปีที่ 3
                                                       มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

1.หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล




1.หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล


เครื่องยนต์ดีเซลประดิษฐ์โดย ดอกเตอร์ รูดอลฟดีเซล (Dr.Rudolf  Diesel) ในปี ค.ศง 1897 โดยอาศัยการทำงานของกลจักร  คาร์โนต์ (Carnot,s  cycle) ซึ่งคิดขึ้นโดยชาวฝรั่งเศสชื่อ ซาร์ดิ คาร์โน ( Sardi carnot) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1824 หลักการทำงานของเครื่องจักรดีเซล อากาศเมื่อถูกอัดตัวจะมีความร้อนสูงขึ่น แต่ถ้าอากาศถูกอัดตัวอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการสูญเสียความร้อน (Adiabatic compression) ทั้งแรงดันและความร้อนจะสูงขึ่นอย่างรวดเร็ว (Boyle's law) เมื่อฉีดละอองนํ้ามันเชื้อเพลิงเข้าไปในอากาศที่ร้อนจัดจากการอัดตัว ก็จะเกิดการเผาไหม้ขึ่นอย่างทันทีทันใดทำให้เกิดกำลังงานขึ่นกำลังงานที่เกิดขึ่นจะนำไปใช้ประโยชน์ในรูปของแรงขับหรือแรงผลักดัน ผ่านลูกสูบและก้านสูบทำให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุน ณ กำลังอัดเดียวกัน อากาศที่อุณหภูมิเริ่มต้นสูงกว่า เมื่อถูกอัดย่อมีอุณหภูมิสูงกว่าหรือร้อนกว่า เครื่องยนต์ดีเซลแบ่งออกเป็นแบบใหญ่ๆได ้ เป็น 2 แบบคือเครื่องยนต์4จังหวะ(The4cycle Engine ) และเครื่องยนต์ 2 จังหวะ (The 2-cycle Engine) ซึ่งมีรายละเอียดังนี

2.การทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ




การทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

เครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก โดยทั่วไปเป็นเครื่องยนต์ 4 จังหวะ สำหรับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ มักใช ้ กับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่

การทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ
DieselEngine_01.gif


1. จังหวะดดู (Intake Storke) เมื่อลูกสูบเลือนลงจากจุดศูนย์ตายบนถึงจุดศูนย์ตายล่าง(TDC-BDC) ลิ้นไอดีจะเปิด อากาศจะถูกดูดเข้ามาประจุในห้องเผาไหม ้ แต่ในขณะนี้ลิ้นไอเสียยังคงปิดอยู่
2. จังหวะอัด(CompressionStroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนขึ้นจากศูนย์ตายล่าง (BDC) ลิ้นทั้งสองจะปิดดั้งนั้นอากาศในกระบอกสูบจึงถูกอัดโดยกระบอกสูบแรงดันและความร้อนของอากาศจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอากาศในขณะนี้เป็นอากาศที่ร้อนแดง " Red hot Air" ถ้าอัตราส่วนการอัดเท่ากับ20:1 อากาศจะมีแรงดัน 40-45 กก./ตารางเซนติเมตรและมีอุณหภูมิ 500-600 องศาเซลเซียส
3. จังหวะระเบิด (powerStroke) เมื่อลูกสูบเลื่อนขึ้นเกือบจุดศูนย์ตายบน ในปลายจังหวะอัดละอองนํ้ามันเชื่อเพลิงจะถูกฉีดเข้าสู่ห้องเผาไหม้ทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างทันทีทันใดแรงดันจากการเผาไหม้จะผลักดันให้ลูกสูบเลื่อนลง อุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นประมาณ 2000องศาเซลเซียส และแรงดันสูงขึ้นเป็น55-80 กก./ตารางเซนติเมตรในจังหวะระเบิดนพลังงานความร้อนจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานกล
4. จังหวะคาย (ExaustStroke) ปลายจังหวะระเบิด ลิ้นไอเสียจะเปิดแก๊สไอเสียจึงขับไล่ออกจากกระบอกสูบ ด้วยการเลือนขึ้นของลูกสูบ

หลักการทำงานเครื่อง 4 จังหวะ


3.การทำงานเครื่องยนต์ 2 จังหวะ




การทำงานเครื่องยนต์ 2 จังหวะ

เครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ มักใช้กับเครื่องนต์ดีเซลขนาดใหญ่  เนื่องจากจังหวะดูด อัด ระเบิด และคาย จะเกิดขึ้นร่วมกับเพราะจังหวะทั้งสี่จะเกิดขึ้นทุกๆหนึ่งรอบที่เพลาข้อเหวี่ยงหมุน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการพิเศษ เพื่อประจุอากาศเข้าสู่กระบอกสูบ ด้วยเหตุนี้จึงไม่นิยมใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก  แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษาการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะแล้ว ก็ควรศึกษาการทำงานของเครื่องยนดีเซล 2 จังหวะด้วยเพื่อการเปรียบเทียบ
ลักษณะของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ  มีดังนี้

1.  อ่างน้ำมันเครื่องปิดสนิทแต่เครื่องยนต์บางแบบมีช่องให้อากาศหรือไอดีเข้าเพื่อผ่านขึ้นไปในกระบอกสูบ
2. ไม่มีเครื่องกลไกของลิ้น  ลูกสูบจะทำหน้าที่เป็นลิ้นเอง
3.  กระบอกสูบอยู่ในลักษณะตั้งตรง
4.  มีช่องไอดี (Inlet Port) เป็นทางให้อากาศเข้าไปภายในกระบอกสูบ  โดยอาจจะมีเครื่องเป่าอากาศช่วยเป่าเข้าไป
5.   มีช่องไอเสีย (Exhaust Port)  เป็นทางให้อากาศเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ออกไปจากกระบอกสูบ


การทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ มีดังนี้






1.  จังหวะคายและดูด  ลูกสูบจะเคลื่อนที่จากจุดศูนย์ตายบนลงมาเรื่อยๆ จนผ่านช่องไอเสีย  ไอเสียก็จะผ่านออกไปทางช่องนี้เมื่อลูกสูบเคลื่อนต่อไปอีกเล็กน้อย  ช่องไอดีก็จะเปิดให้อากาศเข้าไปในกระบอกสูบและไล่ไอเสียออกไปจนหมดสิ้น  ลูกสูบจะเคลื่อนลงจนถึงจุดศูนย์ตายล่าง








2.  จังหวะอัดและระเบิด  ลูกสูบจะเคลื่อนจากศูนย์ตายล่างขึ้นไปเรื่อยๆ จนปิดช่องไอดีและช่องไอเสียตามลำดับ  พร้อมกับอัดอากาศไปด้วยเมื่อลูกสูบเคลื่อนเข้าใกล้จุดศูนย์ตายบน  หัวฉีดก็จะทำการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้แตกเป็นฝอยเล็กๆ เข้าไปกระทบกับอากาศที่ถูกอัดจนร้อน  ทำให้เกิดการเผาไหม้และระเบิดดันลูกสูบให้ทำงาน  ในขณะเดียวกันไอเสียก็จะมีความดันสูงด้วย  เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงมาเปิดช่องไอดี  อากาศก็จะเข้ามาและทำการขับไล่ไอเสียออกไปทางช่องไอเสียเหลือไว้เพียงแต่ไอดีในห้องเผาไหม้
             









            จะเห็นได้ว่า เมื่อเครื่องยนต์ทำงานครบ 2 จังหวะ  เพลาข้อเหวี่ยงจะหมุนไปได้หนึ่งรอบเมื่อลูกสูบอยู่ที่ตำแหน่งศูนย์ตายล่างในจังหวะดูด  ภายในกระบอกสูบจะมีปริมาตรที่บรรจุส่วนผสมน้ำมัน และอากาศหรืออากาศเพียงอย่างเดียว  เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะอัด  ปริมาตรนี้จะถูกอัดให้ลดลงตรงส่วนของลูกสูบ  เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถึงจุดศูนย์ตายบนปริมาตรจะมีขนาดเล็กที่สุด  บริเวณที่มีปริมาตรเล็กนี้ถูกเรียกว่าห้องเผาไหม้ 
             สัดส่วนความอัด (Compression Ratio) อัตราส่วนระหว่างปริมาตรภายในกระบอกสูบเมื่อลูกสูบอยู่ที่จุดศูนย์ตายล่างกับปริมาตรภายในกระบอกสูบ เมื่อลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายบน
             สัดส่วนความอัดของเครื่องยนต์มีความสำคัญมากเพราะมีความสัมพันธ์กับชนิดและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะนำไปใช้  เครื่องยนต์เบนซินจะมีสัดส่วนความอัดอยู่ระหว่าง 5.5/1 ถึง 8/1 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลนั้น  น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้าไปในกระบอกสูบหลังจากที่อากาศถูกอัดแล้ว  สัดส่วนความอัดอยู่ระหว่าง 14/1 ถึง 18/1




4.ชิ้นส่วนและระบบที่สำคัญเครื่องยนต์ดีเซล



เครื่องยนต์ดีเซลทั่ว ๆ ไปจะประกอบด้วยชิ้นส่วนและระบบที่สำคัญดังนี้

1.     ตัวเครื่องยนต์
                ตัวเครื่องยนต์เป็นส่วนที่เหมือนกันของเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ที่ผลิตจากโรงงานผลิตใดตัวเครื่องยนต์จะเป็นกลไกที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงให้เป็นงาน  ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญคือ


1.1   ฝาสูบ (cylinder head) คือ ส่วนที่ปิดด้านบน (สำหรับเครื่องยนต์สูบเรียงและสูบวี) หรือด้านนอกสุด (สำหรับเครื่องยนต์แบบสูบนอน) เพื่อทำให้เกิดห้องเผาไหม้ (combustion chamber) ซึ่งเป็นห้องที่เกิดจากส่วนล่างของฝาสูบ ส่วนบนของกระบอกสูบ และส่วนบนขอ ลูกสูบ ฝาสูบจะถูกขันติดกับเสื้อสูบ โดยใช้หมุดเกลียวและใช้ปะเก็นฝาสูบวางอยู่ระหว่างเสื้อสูบ และฝาสูบเพื่อกันมิให้ก๊าชรั่วจากห้องเผาไหม้ และกันมิให้น้ำรั่วเช้าห้องเผาไหม้ในกรณีที่เป็น เครื่องยนต์หล่อเย็นด้วยนํ้า
1.2   เสื้อสูบ (cylinder block) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รองรับและหุ้มห่อชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ โดยชิ้นส่วนต่าง ๆของเครื่องยนต์ที่เคลื่อนที่จะเคลื่อนที่อยู่ภายในเสื้อสูบนี้
1.3   ลิ้นและกลไกของลิ้น (valve and valve mechanism) ลิ้นและกลไกของลิ้นทำหน้าที่ ปิดและเปิดช่องไอดีและไอเสียที่จะเข้าและออกจากกระบอกสูบ ให้เข้าและออกตามกำหนดเวลาที่ต้องการ
1.4   กระบอกสูบ (cylinder) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เป็นตัวนำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นลง และส่วนบนจะทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของห้องเผาไหม้ด้วย
1.5   ลูกสูบและแหวน (piston and piston rings) ลูกสูบทำหน้าที่รับแรงที่เกิดจากการเผาไหม้ และถ่ายทอดแรงไปยังข้อเหวี่ยงโดยผ่านก้านสูบ รวมทั้งมีร่องสำหรับใส่แหวนลูกสูบอีกด้วย ส่วนแหวนลูกสูบทำหน้าที่เป็นซีล (seal) กันก๊าซรั่วระหว่างลูกสูบและกระบอกสูบ ทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนจากลูกสูบไปยังกระบอกสูบ และทำหน้าที่ควบคุมการหล่อลื่นระหว่างลูกสูบและผนังของกระบอกสูบ
1.6   ก้านสูบ (connecting rod) เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างลูกสูบและข้อเหวี่ยง ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดกำลังขับดันจากลูกสูบไปยังข้อเหวี่ยง
1.7   ข้อเหวี่ยง (crankshaft) เป็นชิ้นส่วนหนึ่งซึ่งเมื่อต่อเชื่อมกับลูกสูบโดยใช้ก้านสูบแล้ว จะเปลี่ยนการเคลื่อนที่ขึ้นลงของลูกสูบให้เป็นการหมุน
1.8   เมนแบริ่งและแบริ่งก้านสูบ (main and connecting rod bearing) เป็นส่วนที่ใช้รองรับเพลาข้อเหวี่ยงและก้านสูบ
1.19 ฟลายวีล (flywheel) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่สะสมพลังงานเพื่อทำให้รอบหมุนของเพลาข้อเหวี่ยงสมํ่าเสมอ และทำหน้าที่ในการถ่ายทอดกำลัง
1.10 ชุดขับเคลื่อนเพื่อกำหนดเวลา (timing drives) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่กำหนดเวลา การทำงานของชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน เช่น ให้ลิ้นไอดีและไอเสียปิดเปิดตามตำแหน่ง ของลูกสูบที่ต้องการ

2.     ระบบนํ้ามันเชื้อเพลิง
                เป็นระบบหนึ่งที่จำเป็นสำหรับเครื่องยนต์ โดยจะทำหน้าที่เกี่ยวกับนํ้ามันเชื้อเพลิงทั้งหมด ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซลประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ คือ
2.1   ถังนํ้ามัน (fuel tank) ใช้เก็บนํ้ามันและรับนํ้ามันที่ไหลกลับจากหัวฉีด
2.2   ปั๊มส่งนํ้ามันเชื้อเพลิง (fuel transfer pump) บางครั้งเรียกปั๊มแรงดันตํ่า ใช้ในการปั๊มนํ้ามันจากถังผ่านหม้อกรองนํ้ามันเชื้อเพลิงไปยังปั๊มฉีดนํ้ามันเชื้อเพลิง
2.3   หม้อกรองน้ำมันเชื้อเพลิง (fuel filters) ใช้ในการกรองฝุ่นผงที่ปนอยู่กับนํ้ามัน ก่อนที่จะส่งนํ้ามันไปยังปั๊มหัวฉีด
2.4   ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง (injection pump) บางครั้งเรียกปั๊มแรงดันสูง ใช้ในการปั๊มนํ้ามันด้วยความดันสูงไปยังหัวฉีด ด้วยปริมาณและตามกำหนดเวลาที่ต้องการ
2.5   หัวฉีด (injection nozzles) ใช้ในการทำให้นํ้ามันเป็นละอองและฉีดเข้าห้องเผาไหม้

หน้าที่ของระบบนํ้ามันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซล จะทำหน้าที่ ประการ คือ
1.  จะต้องส่งนํ้ามันเข้าห้องเผาไหม้ด้วยปริมาณที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดการเผาไหม้และให้งานออกมาตามที่ต้องการ
2.  จะต้องส่งนํ้ามันเข้าห้องเผาไหม้ตามกำหนดเวลาเพื่อให้ได้กำลังสูงสุด ซึ่งในการฉีดนํ้ามันเข้าก่อนหรือหลังเวลาที่เหมาะสมจะทำให้เครื่องยนต์สูญเสียกำลังที่ควรจะได้ไป
3.  จะต้องส่งนํ้ามันเข้าห้องเผาไหม้ด้วยอัตราที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการเผาไหม้อย่างราบรื่นตามสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์
4.  จะต้องส่งนํ้ามันเข้าห้องเผาไหม้เป็นละอองฝอย เพื่อให้สามารถระเหยและผสมกับอากาคอย่างรวดเร็ว
5.  จะต้องส่งนํ้ามันเข้าห้องเผาไหม้อย่างทั่วถึง เพื่อให้สามารถผสมกับออกซิเจนให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์เดินอย่างราบเรียบและให้กำลังออกมาสูงสุด

3.  ระบบไอดีและไอเสีย
               สำหรับระบบไอดีทำหน้าที่นำเอาอากาศที่สะอาดเข้ากระบอกสูบตามปริมาตรที่ต้องการ ส่วนระบบไอเสียทำหน้าที่นำไอเสียออกจากกระบอกสูบและลดเสียงที่จะเกิดจากไอเสียด้วย
 
ระบบไอดีของเครื่องยนต์ดีเซลทั่ว ๆ ไปจะประกอบด้วย
1.     เครื่องกรองอากาศ (air cleaner) จะทำหน้าที่กรองฝุ่นผงและสิ่งสกปรกในอากาศ ก่อนที่จะเข้ากระบอกสูบ สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ที่ใช้ในที่มีฝุ่นมาก นิยมใช้เครื่องกรองอากาศขั้นแรก (pre cleaner) ซึ่งจะทำหน้าที่กรองฝุ่นผงและสิ่งสกปรกขนาดใหญ่ในอากาศก่อนที่จะให้อากาศผ่านเข้าไปในเครื่องกรองอากาศ ทำให้อายุการใช้งานของเครื่องกรองอากาศยืนยาวขึ้น
2.     ท่อไอดี (intake manifold) จะทำหน้าที่นำอากาศที่ผ่านจากเครื่องกรองแล้วเข้าสู่กระบอกสูบ ในกรณีที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลแบบหลายสูบก็จะมีท่อแยกเข้าแต่ละสูบ
3.     ลิ้นไอดีหรือช่องไอดี (intake valves or intake ports) ลิ้นไอดีหรือช่องไอดีกับลูกสูบจะทำหน้าที่เปิดให้อากาศจากท่อไอดี เข้าสู่กระบอกสูบตามกำหนดเวลาที่ต้องการ
นอกจากอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ระบบไอดีของเครื่องยนต์ดีเซลอาจจะประกอบด้วย ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ (supercharger) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์โดยการ อัดอากาศเข้าเครื่องยนต์ ซึ่งจะทำให้ปริมาณของอากาศที่เข้าเครื่องยนต์สามารถเข้าได้มากกว่า ที่จะดูดเข้าเอง เป็นผลให้ด้วยขนาดความจุของกระบอกสูบของเครื่องยนต์เท่ากัน เครื่องยนต์ที่ติดซูเปอร์ชาร์จเจอร์จะให้กำลังมากกว่าเครื่องยนต์ที่มิได้ติดซูเปอร์ชาร์จเจอร์
ส่วนระบบไอเสียจะประกอบด้วย
1. ลิ้นไอเสีย (exhaust valves) ทำหน้าที่เปิดให้ไอเสียออกจากกระบอกสูบตามกำหนดเวลา
2. ท่อไอเสีย (exhaust manifold) จะรับไอเสียที่ออกจากกระบอกสูบ ถ้าเป็นเครื่องยนต์แบบหลายสูบก็จะมีท่อไปรับทุกสูบแล้วนำมารวมกัน
3. หม้อพัก (muffer) ทำหน้าที่ลดเสียงที่เกิดจากการไหลของไอเสียออกจากเครื่องยนต์ นอกจากนี้แล้วระบบไอเสียอาจจะประกอบด้วยส่วนของเทอร์โบชาร์จเจอร์(turbocharger)คือส่วนที่เรียกว่าเทอร์ไบน์ (turbine) โดยไอเสียจะไหลผ่านเข้าไปขับใบพัดเพื่อไปหมุนเพลา ขับเครื่องอ้ดอากาศ (compressor) ด้านระบบไอดี

4 . ระบบหล่อลื่น
เป็นอีกระบบหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อเครื่องยนต์ดีเซล โดยจะทำหน้าที่ ประการคือ
1.      ลดความฝืดระหว่างชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว
2.      ระบายและถ่ายเทความร้อน
3.      กันมิให้ก๊าชรั่วออกจากช่องระหว่างแหวนลูกสูบและผนังกระบอกสูบ
4.      ทำความสะอาดโดยการชะล้างชิ้นส่วนต่าง ๆ
5.      ช่วยลดเสียงที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนต่าง ๆ

                สำหรับเครึ่องยนต์ดีเซลที่ใช้กับเครื่องจักรกลงานก่อสร้าง โดยทั่วไปจะเป็นเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเร็วแบบหลายสูบ ซึ่งใช้ระบบหล่อลื่นแบบใช้แรงดันอย่างเดียว (full internal force feed system) โดยนํ้ามันหล่อลื่นจะถูกส่งไปชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ภายใต้แรงดัน ระบบนี้จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ คือ
4.1   ปั๊มน้ำมันหล่อลื่น (oil pump) ทำหน้าที่ดันนํ้ามันหล่อลื่นให้ไหลไปยังส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ที่ต้องการการหล่อลื่น
4.2   หม้อกรองน้ำมันหลอลื่น (oil filter) ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกที่ปนอยู่ในนํ้ามันหล่อลื่นออก
4.3   ลิ้นควบคุม (lubricating valves) ทำหน้าที่ควบคุมความดันของนํ้ามันหล่อลื่นในระบบไม่ให้เกินความดันที่กำหนดนอกจากอุปกรณ์ที่สำคัญ อย่างข้างต้นแล้ว ระบบหล่อลื่นของเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่อาจจะมีอุปกรณ์เพิ่มเติมคือ เครื่องหล่อเย็นน้ำมันหล่อลื่น (oil cooler) เพื่อใช้ในการระบายความร้อนออกจากนํ้ามันหล่อลื่น
วีดีโอสาธิตระบบหล่อลื่น

5.  ระบบหล่อเย็น
 ระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ดีเซลจะทำหน้าที่ ประการคือ
1. เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ร้อนจนเกินไป โดยทั่วไปชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ ดีเซลจะถูกออกแบบให้ทำงานภายใต้อุณหภูมิสูงสุดอุณหภูมิหนึ่งหากอุณหภูมิของเครื่องยนต์ร้อนจนเกินไปก็จะทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์บางชิ้นหลอมละลายและทำให้เครื่องยนต์ชำรุดระบบหล่อเย็นจะทำหน้าที่นำเอาความร้อนส่วนที่เกินออกไปจากเครื่องยนต์
2.  เพื่อควบคุมอุณหภูมิของตัวเครื่องยนต์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หากเครื่องยนต์ร้อน เกินไป ชิ้นส่วนบางชิ้นอาจหลอมละลายได้ และหากเครื่องยนต์เย็นเกินไปคืออุณหภูมิของตัว เครื่องยนต์ต่ำเกินไปก็จะเป็นผลเสียต่อเครื่องยนต์เช่นกัน คือ จะเกิดการสึกหรอมากเนื่องจากระบบหล่อลื่นทำงานได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้การสิ้นเปลืองนํ้ามันเชื้อเพลิงก็จะสูงขึ้นด้วย
ระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ดีเซลจะแบ่งออกเป็น แบบคือ
5.1   ระบบหล่อเย็นด้วยอากาศ ซึ่งจะให้อากาศไหลผ่านเครื่องยนต์ โดยความร้อนจากเครื่องยนต์จะถ่ายเทให้กับอากาศที่ไหลผ่านโดยตรง
5.2    ระบบหล่อเย็นด้วยของเหลว ซึ่งจะให้ของเหลว (โดยทั่วไปจะใช้น้ำ ไหลผ่านช่องต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นในตัวเครื่องยนต์ เพื่อให้ความร้อนจากเครื่องยนต์ถ่ายเทให้กับนํ้า แล้วนํ้าที่ร้อนก็จะไหลผ่านหม้อนํ้าซึ่งความร้อนจากนํ้าจะถูกถ่ายเทให้อากาศอีกทีหนึ่ง หลังจากนั้นนํ้าก็จะไหลกลับเข้าเครื่องยนต์อีก
ในระบบหล่อเย็นด้วยของเหลวหรือนํ้า ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ คือ
ก. หม้อน้ำ (radiator) ซึ่งจะเป็นตัวถ่ายเทความร้อนจากน้ำไปสู่อากาศโดยรอบและจะเป็นถังเก็บนํ้าเพื่อให้นํ้ามีปริมาณเพียงพอที่จะใช้ในการหมุนเวียน
ข.พัดลม (fan) ซึ่งจะทำหน้าที่บังคับให้อากาศไหลผ่านหม้อนํ้าด้วยปริมาณที่เพียงพอ
ค. ปั๊มน้ำ (water pump) ซึ่งจะทำหน้าที่ให้น้ำไหลหมุนเวียนด้วยปริมาณที่เพียงพอ
ง. เทอร์โมสตัต (thermostat) ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของนํ้าที่ไหลผ่านเครื่องยนต์ ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมทำความรู้จักกับ ระบบแจ้งเตือนระดับน้ำหล่อเย็น

6. ระบบและลอุปกรณ์อื่นๆ
                นอกจากระบบที่สำคัญ ๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว เครื่องยนต์ดีเซลยังอาจประกอบด้วย ระบบควบคุมความเร็ว (governing system) ทำหน้าที่รักษาความเร็วของเครื่องยนต์ให้คงที่หรือควบคุมความเร็วเดินเบาและความเร็วสูงสุด ระบบการหมุนติดเครื่องด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า(starting motor system) ทำหน้าที่หมุนเครื่องยนต์ให้เครื่องยนต์ติด และระบบการประจุไฟฟ้า (electricalcharging system) ทำหน้าที่ในการประจุไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่และจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ

อ้างอิงจากแหล่งข้อมูล



อ้างอิงจากแหล่งข้อมูล

http://auto.lannapoly.ac.th/e-learning/engine/content/work%202%20stroke.htm#
https://www.youtube.com/watch?v=oj1d1WcEfQ8
https://www.youtube.com/watch?v=M2AU0kV_b5s
https://www.youtube.com/watch?v=6wOPiyD_0Jk
http://www.tatc.ac.th/external_newsblog.php?links=4453